Pages

Monday, June 8, 2020

ผู้ลี้ภัย คืออะไร ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจกับคนกลุ่มนี้ - Sanook

hitagajah.blogspot.com

ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต อันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัย แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น

เด็กและสตรีผู้ลี้ภัยเป็นผู้ลี้ภัยกลุ่มย่อยที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ระบบผู้ลี้ภัยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อประเทศเปิดพรมแดนให้ผู้คนหนีจากความขัดแย้ง โดยเฉพาะประเทศพื้นบ้านใกล้กับต้นกำเนิดของความขัดแย้ง ระบบผู้ลี้ภัยนี้ได้ช่วยเหลือผู้คนมากมายแต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ ในหลายกรณีการหนีไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกระทำได้ยากยิ่ง

วันผู้ลี้ภัยโลก

วันผู้ลี้ภัยโลก (World refugee day) ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี สหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น “วันผู้ลี้ภัยโลก” โดยวันนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีวันผู้ลี้ภัยโลกนี้ แต่ละประเทศจะมีวันผู้ลี้ภัยโลกเป็นของตนเอง เช่น Africa Refugee Day

ผู้ลี้ภัยคือใคร

ผู้ลี้ภัยหมายถึงกลุ่มคนที่เดินทางออกจากประเทศของตนเนื่องจากสงคราม ความรุนแรง การประหัตประหารหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอื่นๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ไม่สามารถกลับไปยังบ้านเกิดได้เพราะหวาดหวั่นต่อภยันตรายเกินกว่าที่จะกลับไปได้ โดยในบางครั้งพวกเขาถูกเรียกว่าผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (Asylum Seekers) จนกว่าคนๆ นั้นจะได้รับสถานะเป็น “ผู้ลี้ภัย” จาก UNHCR สถานะของบุคคลที่เป็นผู้ลี้ภัยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับ UNHCR หรือรัฐบาลของประเทศที่รองรับผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยซึ่งไม่ยื่นคำร้องขอที่ลี้ภัยและบุคคลที่ยื่นเรื่องขอที่ลี้ภัยแต่ถูกปฏิเสธโดย UNHCR หรือหน่วยงานระดับชาติยังคงมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย

ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย VS. ผู้ลี้ภัย

ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (Asylum Seeker) ต่างจากผู้ลี้ภัยตรงที่ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยยังมิได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการตามอนุสัญญาฯว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494

แรงงานต่างด้าว VS. ผู้ลี้ภัย

แรงงานต่างด้าวแตกต่างจากผู้ลี้ภัยตรงที่ว่า แรงงานต่างด้าวคือคนที่เดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อที่จะไปทำงานในประเทศอื่น ๆ เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจของพวกเขา ขณะที่ผู้ลี้ภัยถูกสถานการณ์ทางการเมืองหรือทางสังคมในประเทศตนเองบังคับให้พวกเขาต้องหลบหนีออกจากประเทศ

เหยื่อการค้ามนุษย์ VS. ผู้ลี้ภัย

ด้วยสถานการณ์ความยากลำบากในการหนีออกนอกประเทศ มีหลายกรณีที่ผู้ที่แสวงหาที่ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยตัดสินใจร่วมเดินทางกับกลุ่มลักลอบขนคนเข้าเมือง เพราะเชื่อว่าจะได้เดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ แต่พวกเขากลับตกไปเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยอาจถูกทำร้ายร่างกายจนอาจถึงแก่ชีวิต หากไม่ยอมทำตามคำสั่งของผู้ที่ทำการลักลอบเข้าเมือง และหากพวกเขาถูกทางการจับตัวไป พวกเขาอาจจะถูกดำเนินคดีในลักษณะลักลอบเข้าเมือง และถูกกักขังและส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง

Let's block ads! (Why?)



"ความหวาดกลัว" - Google News
June 08, 2020 at 01:20PM
https://ift.tt/2YeYNZF

ผู้ลี้ภัย คืออะไร ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจกับคนกลุ่มนี้ - Sanook
"ความหวาดกลัว" - Google News
https://ift.tt/2XpGqCo

No comments:

Post a Comment