Pages

Wednesday, July 29, 2020

ลดเงินเดือน ช่วงโควิด! 8 ข้อต้องรู้! 'นายจ้าง' มีสิทธิ์ไม่จ่าย-ลดค่าจ้างหรือไม่ - thebangkokinsight.com

hitagajah.blogspot.com

ลดเงินเดือน ช่วงโควิด! 8 ข้อต้องรู้! “นายจ้าง” มีสิทธิ์ จ่าย – ไม่จ่าย – ลดค่าจ้าง ได้หรือไม่ ชี้นายจ้าง – ลูกจ้าง ต้องโปร่งใสตรงไปตรงมา

หลังสถานการณ์ “โควิด” ทั่วโลกยังแพร่ระบาดต่อเนื่อง จนล่าสุดมีการคาดการณ์ว่า ยอดการแพร่ระบาดในวันพรุ่งนี้ (30 พ.ค.) อาจทะลุ 17 ล้านคน การแพร่ระบาดของ “โควิด” นั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงสุขภาพร่างกาย และความหวาดกลัวของประชานเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า และความมั่นคงของหน้าที่การงานด้วย

“ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์” จาก blog : tamrongsakk.blogspot.com ได้แนะวิธีรับมือกับสถานการณ์ “โควิด” หากผู้บริหารของบริษัท ไม่จ่ายค่าจ้าง หรือ ลดเงินเดือน พนักงานของเราต้องทำอย่างไร โดยระบุว่า รับมือ Covid-19 จ่าย-ไม่จ่าย-ลดค่าจ้าง ทำไงดี?

ตอนนี้เจ้าโควิด-19 อาละวาดออกฤทธิ์ออกเดชไปทั่วจน ถือว่า เป็นวิกฤติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่ง ของมนุษยชาติกันเลย ที่สำคัญ คือ มีผลกระทบไปถึงธุรกิจทุกประเภท และไปถึงคนทำงานในแต่ละภาคส่วนอย่างหนัก จนกระทั่ง มีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเจ้าไวรัสร้ายตัวนี้

ลดเงินเดือน

โดยช่วงที่ผ่านมา หลายบริษัทได้สั่งให้พนักงานหยุดงานไป โดยจ่ายค่าจ้างบ้าง ไม่จ่ายบ้าง รวมถึงทางหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจดำเนินการในภาวะฉุกเฉินสั่งให้ธุรกิจบางรายปิดไปก็มี

ก็เลยเกิดคำถามว่า แล้วบริษัทจะต้องจ่ายหรือไม่ จ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่หยุดงานล่ะ หรือ ถ้าบริษัทสั่งให้พนักงานทำงานที่บ้านหรือที่เรียกกันว่า Work From Home (WFH) จะต้องจ่ายหรือเปล่า หรือ ถ้าบริษัทจะขอลดเงินเดือนลงล่ะจะทำได้หรือไม่

1. กรณีที่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจมีคำสั่งให้บริษัทปิดชั่วคราว (เขาจะต้องมีประกาศว่าให้ปิดกิจการชั่วคราวตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่) ซึ่งบริษัทของท่านก็อยู่ในธุรกิจที่เขาออกคำสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราว กรณีนี้ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 75 ของกฎหมายแรงงาน (เข้าไป Search คำว่ากฎหมายแรงงานในกูเกิ้ลแล้วอ่านมาตรา 75 นะครับ) บริษัทก็ต้องให้พนักงานหยุดอยู่กับบ้านได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างเวลาที่รัฐมีคำสั่ง

2. กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้มีคำสั่งให้บริษัทปิดชั่วคราว แต่บริษัทประกาศให้พนักงานหยุดอยู่ที่บ้าน (โดยต้องระบุว่าให้พนักงานหยุดงานชั่วคราวตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ถึงวันที่เท่าไหร่) เนื่องจากไม่มีลูกค้ามาติดต่อ หรือถึงผลิตสินค้าไปก็ยังขายไม่ได้ ฯลฯ กรณีอย่างนี้บริษัทก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักงานระหว่างที่หยุดไม่น้อยกว่า 75% ในวันทำงานที่พนักงานต้องได้รับ เพราะถือว่ากรณีนี้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเหมือนข้อ 1 ซึ่งบริษัทจะต้องแจ้งให้พนักงานและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 3 วันทำการนะครับ

3. บริษัทสั่งให้พนักงานหยุดและทำงานอยู่ที่บ้านแบบที่เรียกว่า Work From Home (WFH) บริษัทยังต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักงานตามปกตินะครับ เพราะวิธีนี้พนักงานก็ยังทำงานให้บริษัทอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนที่ทำงานเป็นที่บ้านของพนักงานเท่านั้นแหละ ซึ่งการใช้วิธีนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของแต่ละตำแหน่ง และการควบคุมติดตามงานของบริษัทว่าจะทำยังไงถึงจะวัดผลงานได้ก็ต้องไปตกลงกันระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องครับ

4. บริษัทกับพนักงานตกลงกันเอง วิธีนี้ไม่ได้เป็นวิธีการทางกฎหมายเหมือนข้อ 1 และข้อ 2 นะครับ เพราะต้องยอมรับความจริงว่าในชีวิตจริง บริษัทที่เป็น SME หรือบริษัทเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังพอที่จะจ่ายให้กับพนักงานได้ตามกฎหมาย

ก็คงต้องมาพูดคุยกันแหละครับว่า ถ้าบริษัทจะให้พนักงานหยุดงาน ตั้งแต่วันที่นี้ถึงวันที่นี้นะ และระหว่างที่หยุด พนักงานไม่ได้รับค่าจ้างพนักงานจะรับได้ไหม เช่น บริษัทแจ้งให้พนักงานหยุดเดือนหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 31 โดยบริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้ 20 วัน

ส่วนอีก 10 วันถือเป็น Leave Without Pay คือ ขอให้เป็นวันหยุดของพนักงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้างพนักงาน จะโอเคไหม แล้วก็ทำหนังสือขึ้นมา ให้พนักงานเซ็นยินยอมกันเป็นรายบุคคล ถ้าพนักงานคนไหนเซ็น ก็จะมีผลกับพนักงานคนนั้น ถ้าพนักงานคนไหนไม่ยินยอม ก็จะไม่มีผลกับพนักงานที่ไม่เซ็นด้วยเช่นเดียวกัน วิธีนี้ต้องอาศัยการพูดคุยกันอย่างพี่อย่างน้องและด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกันครับ

ลดเงินเดือน

5. ใช้วิธีคล้ายข้อ 4 แต่ให้พนักงานใช้สิทธิพักร้อนให้หมด โดยจ่ายให้เต็มในวันที่ใช้สิทธิพักร้อนที่เหลือก็จะเป็น Leave Without Pay

6. บริษัทขอความร่วมมือให้พนักงานลดเงินเดือนลง ตามหลักแล้วการลดค่าจ้างทำไม่ได้เพราะเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่เป็นคุณของลูกจ้างให้กลายเป็นโทษ แต่ถ้าลูกจ้างให้ความยินยอมก็ทำได้ซึ่งมีการใช้วิธีนี้กันมากเมื่อตอนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่เมื่อปี 2540 – 2541

โดยพนักงานก็ต้องประชุมพูดจากับพนักงานทุกระดับว่า ตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้าง และเพื่อช่วยกันให้บริษัทอยู่รอดฝ่าวิกฤติไปได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ จากพนักงานในการลดเงินเดือนลงก็ว่ากันไปว่าตำแหน่งไหนจะลดลงไปกี่เปอร์เซ็นต์กี่บาท (แต่ต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำนะครับ)

จากนั้นก็ทำหนังสือแจ้งเหตุผลความจำเป็น อัตราการลดเงินเดือนลงเท่าไหร่ มีผลตั้งแต่เมื่อไหร่ ให้พนักงานเซ็นยินยอมเป็นรายบุคคล ถ้าพนักงานคนไหนเซ็นยินยอมก็จะมีผลกับพนักงานคนนั้น แต่ถ้าพนักงานคนไหนไม่เซ็น ก็ไม่มีผลกับพนักงานคนนั้น คือถ้าใครไม่ยินยอมเซ็น บริษัทจะไปลดเงินเดือนเขาลงไม่ได้นะครับ วิธีนี้ถึงเป็นวิธีที่จะต้องพูดคุยสื่อสารกันให้ดี ๆ

7. ผมฝากข้อคิดในเรื่องการลดเงินเดือนลงเอาไว้สำหรับฝั่งพนักงาน คือ หากพนักงานเซ็นชื่อยอมลดเงินเดือนลงแล้ว สมมุติว่าอีก 6 เดือนต่อมา บริษัทแจ้งเลิกจ้างพนักงานหรือปิดกิจการ ฯลฯ โดยพนักงานไม่ได้ทำความผิดร้ายแรง ตามมาตรา 119 (ดูมาตรา 119 ในกฎหมายแรงงานด้วยนะครับ) บริษัทก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานโดยใช้ “ค่าจ้างอัตราสุดท้าย” เป็นฐานในการคำนวณ

นั่นแปลว่า พนักงานจะเสียประโยชน์ เพราะจะได้รับค่าชดเชยน้อยกว่าที่ควรจะได้รับ และบริษัทจะได้ประโยชน์เพราะจ่ายค่าชดเชยลดลงเพราะใช้ฐานค่าจ้างตัวใหม่ที่พนักงานยินยอมลดลงครับ

8. ดังนั้น ในเรื่องการขอความร่วมมือลดเงินเดือนพนักงานของบริษัท ผู้บริหาร จึงควรจะต้องมีคุณธรรม ไม่ใช้วิธีนี้ เพื่อหวังจะลดต้นทุนการจ่ายค่าชดเชยในการ Layoff พนักงานในภายหลัง ซึ่งตรงนี้พนักงานที่จะเซ็นลดเงินเดือนตัวเองลงจะต้องคิดและพิจารณาให้ดีว่าในอดีตที่ผ่านมาผู้บริหารมีคุณธรรมหรือไม่

ถ้าเพื่อมีวัตถุประสงค์ให้บริษัทอยู่รอดจริงก็โอเค แต่ถ้ามีเจตนาแอบแฝงนี่ก็ไม่ต้องเซ็น ประเด็นนี้ผมพูดแบบไม่เข้าข้างใครเพราะผมถือคติว่า นายจ้างต้องไม่เอาเปรียบลูกจ้าง และลูกจ้างก็ไม่ควรเอาเปรียบนายจ้าง ต้องโปร่งใสตรงไปตรงมาแบบ Gentleman Agreement

หวังว่าผมคงทำให้ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ได้เข้าใจวิธีปฏิบัติครบทุกประเด็นที่สงสัยแล้วนะครับ รวมถึง HR ที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อไปอธิบายกับฝ่ายบริหารให้มีการปฏิบัติกับพนักงานอย่างเป็นธรรมต่อไป

เป็นกำลังใจให้กับทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้างให้ฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหากยังมีอะไรสงสัยก็สอบถามกันมานะครับยินดีให้คำปรึกษาครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow

Let's block ads! (Why?)



"ความหวาดกลัว" - Google News
July 29, 2020 at 03:05PM
https://ift.tt/2P73mRG

ลดเงินเดือน ช่วงโควิด! 8 ข้อต้องรู้! 'นายจ้าง' มีสิทธิ์ไม่จ่าย-ลดค่าจ้างหรือไม่ - thebangkokinsight.com
"ความหวาดกลัว" - Google News
https://ift.tt/2XpGqCo

No comments:

Post a Comment