ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบ ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน จนถึงวันที่ 31 สิงหาคมนี้ แต่ตัดมาตรา 9 ข้อที่ห้ามชุมนุมทิ้ง
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (29 ก.ค.)ว่า ที่ประชุมครม. ได้หารือเกี่ยวกับ การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ตามที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอขยายเวลา และมีมติเห็นชอบให้ ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
แต่ ข้อกำหนดจะสอดคล้องกับมาตรการผ่อนปรน ซึ่งจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติมากขึ้น และจะตัดการบังคับใช้ในมาตรา 9 เรื่องการห้ามชุมนุม ออกไปด้วย
คำสั่ง/ข้อห้ามหลัก มาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
- ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่ หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยง ต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19
- ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
- ปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นอากาศ ยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด หรือในการใช้เส้นทางคมนาคมไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ํา หรือทางบก เพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
- ห้ามกักตุนสินค้า ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจําวัน
- ห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทําการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
- ห้ามการเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทําให้เกิดความเข้าใจผิด
- ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ
บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
- โทษตามมาตรา 18 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- อาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
โทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- อาจมีความผิดตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ พ.ศ. 2542
โทษจําคุกไม่เกิน 7 ปีหรือปรับไม่เกิน140,000หรือทั้งจําทั้งปรับ แล้วแต่กรณี
สาเหตุที่ต้อง ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
- เนื่องจากยังมีการระบาดอยู่ทั่วโลก รวมถึงมีการผ่อนผันให้คนไทย และชาวต่างชาติ เดินทางเข้าในราชอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก
- การจัดทำข้อตกลงพิเศษ โดยกระทรวงต่างประเทศ จะจัดทำรายละเอียด ข้อตกลงพิเศษ กลุ่มนักธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เข้าไทย ระยะสั้นไม่เกิน 14 วัน
- การบริหารจัดการ แรงงานต่างด้าวประเภททั่วไป (แรงงานไร้ฝีมือ กัมพูชา ลาว เมียนมา) ในกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน (ก่อสร้าง) และอาหาร ทั้งกลุ่มที่มี Work Permit และ Visa จำนวนรวมกว่า 110,000 คน มีการพูดคุยกันถึง Organizational Quarantine ภายในพื้นที่ ที่องค์กรกำหนดไว้ เพื่อป้องกัน และควบคุมโรค
- การผ่อนคลายให้ชาวต่างชาติเข้ามา จัดกิจกรรม/ งานแสดงสินค้า ภายในประเทศ สสปน. จัดทำแนวปฏิบัติในรายละเอียด มาตรการป้องกันการแพร่ระบาด นำเสนอ อาทิ การตรวจหาเชื้อก่อนเดินทาง การทำประกันสุขภาพ ฯลฯ
- กลุ่มคณะถ่ายทำภาพยนต ร์จากต่างประเทศ กลุ่ม Medical Wellness และกลุ่ม Thailand Elite Card กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำเสนอข้อปฏิบัติ ในการป้องกัน การแพร่ระบาด ในกลุ่มคณะถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ อาทิ มีการทำ ASQ การมีผู้ติดตาม การตรวจเชื้อก่อนเดินทาง ฯลฯ
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"ความหวาดกลัว" - Google News
July 29, 2020 at 04:22PM
https://ift.tt/311qC9i
ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน แต่ตัดทิ้ง มาตรการ 9 ข้อที่ห้ามชุมนุม - thebangkokinsight.com
"ความหวาดกลัว" - Google News
https://ift.tt/2XpGqCo
No comments:
Post a Comment