Pages

Monday, August 24, 2020

นิยายที่ช่วยให้คนหนุ่มสาวเอาชนะความเกลียดกลัวอิสลาม - บีบีซีไทย

hitagajah.blogspot.com
  • มานิช พานเดย์ และ ลีวาย โจอาเวล
  • ผู้สื่อข่าวนิวส์บีต

ปกหนังสือสามเล่ม

เรื่องราวของเด็กสาวที่ถูกฝึกให้เป็นมือระเบิดฆ่าตัวตาย อาจดูเหมือนไม่ใช่นิยายที่เหมาะสำหรับเด็ก

แต่งานวิจัยชิ้นใหม่พบว่า นิยายหลายเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่ง ได้ช่วยให้เด็ก ๆ และคนหนุ่มสาว "มีแรงต้านทานแนวคิดสุดโต่งและความรู้สึกเกลียดกลัวอิสลาม" ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดเหตุโจมตี 9/11

เหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2001 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน และบาดเจ็บหลายพันคน จากนั้นในเดือนถัดมา กองกำลังของสหรัฐฯ ก็เริ่มปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถาน และ "สงครามต่อต้านก่อการร้าย" ก็เริ่มขึ้น

ดร.บลังกา เกรกอร์เช็ก จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า ผลที่ตามมาก็คือ กลุ่มชาวมุสลิมและผู้อพยพ "ถูกสื่อนำเสนอว่าเป็นภัยคุกคามต่อวัฒนธรรม ความเป็นชาติ และเอกลักษณ์ของอังกฤษ"

งานวิจัยของเธอถือเป็นการศึกษาชิ้นแรกที่สำรวจหนังสือจำนวนมากที่ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เด็ก ที่ออกมาหลังเกิดเหตุการณ์ 9/11 และ 7/7 (เหตุระเบิดในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2005) และพบว่างานเขียนของนักเขียนชาวอังกฤษหลายคนนำเสนอเนื้อหาในเชิง "โต้กลับ" การนำเสนอภาพเช่นนั้นของสื่อ

"การอ่านได้ทำลายมายาคติหลายอย่าง"

ดร.เกรกอร์เช็ก ศึกษาหนังสือ 28 เล่ม ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2001 อาทิ หนังสือที่แต่งโดยโดยมาลอรี แบล็กแมน ผู้เขียน Noughts and Crosses เธอพบว่าหนังสือหลายเล่ม "บอกเล่าถึงการใช้มาตรการด้านความมั่นคง ที่เข้มงวดขึ้นของอังกฤษ ขณะเดียวกันสื่อก็ปลูกฝัง "ความรู้สึกหวาดระแวงบางอย่าง" ซึ่งทำให้เกิดความหวาดกลัวชาวมุสลิมอยู่ตลอดเวลา

เธอบอกว่า หนังสือหลายเล่มอย่างเรื่อง Run, Riot เขียนโดย นิเคช ชุกลา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่น ถูกตำรวจไล่ล่าหลังคนหนึ่งในกลุ่มถ่ายคลิปวัยรุ่นที่เป็นชนกลุ่มน้อยถูกสังหารโดยที่ฝ่ายการเมืองเป็นใจ "สื่อให้เห็นว่าการแบ่งแยกเชื้อชาติเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่เติบโตมากับมัน"

ดร.เกรกอร์เช็ก บอกกับ เรดิโอ 1 นิวส์บีต ว่า "นักเขียนกำลังนำเสนอเรื่องราวในทางตรงกันข้ามกับ วาทกรรมต่อต้านผู้อพยพและต่อต้านมุสลิมแก่ผู้อ่านรุ่นใหม่"

I Am Thunder ของมูฮัมหมัด ข่าน ก็เป็นหนังสืออีกเล่มที่เธอศึกษา หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหญิงชาวอังกฤษเชื้อสายเอเชีย ที่ไม่มีใครให้ความสำคัญ ทำให้เธอเสี่ยงต่อการกลายเป็นคนที่นิยมความสุดโต่ง

รูเบิน โทมัส กล่าวว่า "เวลาที่เราพูดถึงเรื่องเหล่านั้นในสื่อ และในชีวิตประจำวันของเรา มักจะทำให้ดูเหมือนไม่มีอะไรสลับซับซ้อน"

เขาบอกว่า การอ่าน I Am Thunder ได้ให้มุมมองใหม่เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดสุดโต่งและเรื่องอิสลามแก่เขา

เรื่องราวของตัวละครหลักบ่งชี้ว่ามีหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นความอคติ และการกลั่นแกล้ง ที่อาจทำให้คน ๆ หนึ่งกลายเป็นคนที่มีแนวคิดสุดโต่งได้

"หนังสือเล่มนี้บอกเล่ารายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สลับซับซ้อนโดยไม่ต้องสื่อผ่านตัวละครที่เป็นเหยื่อเลย"

รูเบิน โทมัส

รูเบิน กล่าวว่า เขามีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นถึง "สิ่งที่แอบแฝงมากับแนวคิดสุดโต่ง" เพราะหนังสือได้ "ชี้ให้เห็นความเป็นมนุษย์ของคนที่เกี่ยวข้องและกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ"

เขากล่าวว่า มี "เรื่องเล่าที่น่าสยดสยอง" ในสื่อเกี่ยวกับคนหนุ่มสาวที่อยู่ในแก๊งต่าง ๆ และมีการเอ่ยถึงศาสนา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมและชาวอังกฤษเชื้อสายเอเชีย แต่หนังสือนี้ "ได้ทำลายมายาคติหลายอย่าง"

"มันตัดมายาคติเหล่านั้นออกไป และมองคนเป็นปัจเจกบุคคล มุ่งเน้นความเหมือนไม่ใช่ความแตกต่าง"

Presentational grey line

คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้ :

Presentational grey line

ค่านิยมร่วมกัน

หนังสือเหล่านี้ฉายภาพตัวละครที่มีความผูกพันกันแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือวัฒนธรรม และงานวิจัยก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้อาจช่วยให้ผู้อ่านจินตนาการไปในอนาคตถึงการอยู่ร่วมกันได้ ของคนที่มีค่านิยมแตกต่างหลากหลาย

โชบอน ดันล็อป วัย 27 ปี เป็นอีกคนที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้

เธอบอกว่าหนังสือ Run, Riot ดึงบุคลิกตัวละครที่เป็นชนกลุ่มน้อยหลายคนออกมานำเสนอในภาพของปัจเจกบุคคล ที่ "มีทั้งความหวังและความฝัน"

"พวกเขาถูกนำเสนอให้เห็นความเป็นมนุษย์ และในแบบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น"

เธอบอกว่า นิยายอาจช่วยจัดการกับปัญหาหลายอย่างได้ เช่น ความเกลียดกลัวอิสลาม เพราะคุณต้องเห็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยๆ จากชีวิตของผู้คน "และตระหนักว่าพวกเขาก็ไม่ต่างจากคุณ"

โชบอน ดันล็อป

"พวกเขารักครอบครัวของตัวเอง อาจจะมีรสนิยมที่คล้ายคลึงกันในเรื่องดนตรีหรือเคยเดินทางเยือนสถานที่บางแห่งเหมือนกัน ฉันคิดว่า นั่นอาจช่วยให้ผู้คนมีความรู้สึกร่วมในรูปแบบที่แตกต่างกันไป"

และตั้งแต่ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ โชบอนก็เริ่มตั้งคำถามในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อย่างการที่คนจนในเมืองต้องอพยพออกไปอยู่ที่อื่น เพื่อให้ธุรกิจหรือคนร่ำรวยกว่าเข้ามาอยู่แทนที่

"สำหรับฉันแล้ว คำถามคือว่าพัฒนาการเหล่านี้คือความก้าวหน้าจริงหรือ ในเมื่อมันกระทบวิถีชีวิตของคน"

ผลักดันให้เกิดกิจกรรม

ดร.เกรกอร์เซ็กเจ้าของงานวิจัยเกี่ยวกับหนังสือที่ช่วยให้คนหนุ่มสาวเอาชนะความรู้สึกเกลียดกลัวอิสลาม บอกว่าหนังสือหลายเล่มกลายเป็นแรงผลักดันการดำเนิน "กิจกรรมของคนหนุ่มสาวที่เป็นคลื่นลูกใหม่" ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวเรื่อง "ชีวิตคนดำก็มีค่า" หรือ แบล็ก ไลฟ์ แมตเทอร์ (Black Lives Matter) และ ฟรายเดย์ส ฟอร์ ฟิวเจอร์ (Fridays for Future) รวมทั้งการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงจากการใช้ปืนในสหรัฐฯ

"หนังสือเหล่านี้กำลังชี้ให้คนอ่านมองเห็นการเชื่อมโยงข้ามวัฒนธรรมที่ช่วยให้เราก้าวพ้นการยึดติดกับคำว่า 'พวกเขาพวกเรา' ของคนรุ่นก่อนในอดีต"

สำหรับโชบอนแล้ว หนังสือเหล่านี้ได้เปลี่ยนทัศนะทางการเมืองของเธอ และ "ทำให้เธออยากจะแสดงความเชื่อเหล่านั้นออกมา" เพราะ "หนังสือทำให้คุณมองโลกในแบบที่ต่างออกไป"

Let's block ads! (Why?)



"ความหวาดกลัว" - Google News
August 25, 2020 at 10:40AM
https://ift.tt/3gsEeQy

นิยายที่ช่วยให้คนหนุ่มสาวเอาชนะความเกลียดกลัวอิสลาม - บีบีซีไทย
"ความหวาดกลัว" - Google News
https://ift.tt/2XpGqCo

No comments:

Post a Comment