Pages

Saturday, July 11, 2020

ข่าวอาชญากรรมหน้าสื่อ เรื่องจริงหรือดราม่า - เนชั่นทีวี สถานีข่าว 24 ชั่วโมง

hitagajah.blogspot.com

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมอง "ข่าวอาชญากรรมกับโลกแห่งความเป็นจริง" เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ในเวบไชต์มติชนออนไลน์

ทั้งนี้ มีบางส่วนที่อธิบายปรากฎการณ์การนำเสนอข่าว "น้องชมพู่" ของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้ จึงขอนำเนื้อหาสาระสำคัญ บางส่วนมานำเสนอ

อาจารย์พิชญ์ อ้างถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมกับข่าว" โดยศึกษาทั้งการปรากฏข่าวอาชญากรรม ในสื่อหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์

ซึ่งอาจารย์ ตั้งข้อสังเกตว่า "น่าสนใจมากในวันนี้ เพราะแม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นอินเตอร์เน็ต อาจจะตีพิมพ์ข่าวจากการอ้างอิงข่าวโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ แต่ลักษณะการแพร่กระจายของอินเตอร์เน็ต เกิดจากผู้เสพข่าวส่งต่อเอง และจะมีการให้ความเห็นของผู้ส่งต่อ และการพูดคุยกันในเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ ซึ่งทำให้ประเด็นสลับซับซ้อนไปกว่าเดิม ที่ข่าวนั้นอย่างน้อยก็ "ผลิต" โดยสื่อที่อ้างตัวว่าเป็นมืออาชีพ

กล่าวโดยสรุป มีการค้นพบกันมานานแล้วว่า สิ่งที่สื่อรายงานเป็นเรื่องของการสร้าง "ความจริงอย่างหนึ่ง" แม้ว่าอาจจะไม่ถึงกับเป็น "มายาคติ" ในความหมายของการ "โกหกหลอกลวง" ไปเสียทั้งหมด แต่สื่อ ก็อาจจะไม่ได้นำเสนอโลกของ "ความเป็นจริง" ทั้งหมด โดยเฉพาะในกรณีของข่าวอาชญากรรม ...

จากการศึกษาวิจัยแล้วพบว่า ข่าวอาชญากรรม มีลักษณะที่จะต้องเร้าอารมณ์เป็นพิเศษ (เรียกว่า dramatic หรือที่ภาษาไทยว่า "ดราม่า" ซึ่งเรื่องนี้ทางหนึ่งอาจไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริงทางภาววิสัย แต่มันเกี่ยวเนื่องกับ "อคติ" ของผู้ผลิตข่าว และความสนใจของ "ผู้เสพข่าว" ซึ่งก็ขึ้นกับว่าใครมีอำนาจ หรือเป็นกลุ่มเป็นเป้าหมายที่เสพข่าวนั้น

นั่นหมายความว่า คุณค่าของข่าวถูกคัดสรรจาก "ผู้ผลิตข่าว" และจาก "ความนิยมของผู้เสพข่าว" มากกว่าข้อมูล "ความจริงของสังคม"

นอกจากนี้ สื่อที่มีจุดยืนทาง "คุณค่าทางอุดมการณ์" ที่ต่างกัน ก็อาจจะนำเสนอข่าวอาชญากรรมเดียวกันในลักษณะที่แตกต่างกันด้วย (เช่น มีโทน หรือเลือกข้างการนำเสนอข่าวที่แตกต่างกัน) แต่ในภาพรวมแล้วอารมณ์สำคัญของเรื่องราวในข่าวก็คือ "การรู้สึกเสียใจ" และ "เข้าข้างเหยื่อ"

นอกจากนี้ ในเรื่องของข่าวเยาวชน ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมนั้น ในอเมริกา มีการค้นพบว่าคนสนใจเรื่องราวของ "ผู้กระทำผิด" มากกว่า "เหยื่อ"...

...ข้อค้นพบที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อพูดถึงข่าวอาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน แล้ว เรื่องราวสำคัญก็คือการนำเสนอข่าวที่ "ตัวผู้กระทำผิด" มีลักษณะที่ "ไม่มีเหตุผล" ใช้ "อารมณ์เป็นหลัก" และมีการสร้างผลกระทบทางอารมณ์ให้เห็นว่าสิ่งสำคัญในบ้านเมืองก็คือความปลอดภัย และความมั่นคงทางสังคม เงื่อนไขสำคัญในการทำให้ข่าวนั้นเร้าอารมณ์ก็คือเรื่องของการปลูกฝัง "ความ(หวาด)กลัว" ลงไปในสังคมและผู้อ่าน เพื่อให้เกิดลักษณะของการส่งสัญญาณว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องตื่นตัว (และตื่นกลัว) กับเรื่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะเรื่องฆาตกรรม การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการลักพาตัว

เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV

Let's block ads! (Why?)



"ความหวาดกลัว" - Google News
July 11, 2020 at 11:35PM
https://ift.tt/2Oi4h1e

ข่าวอาชญากรรมหน้าสื่อ เรื่องจริงหรือดราม่า - เนชั่นทีวี สถานีข่าว 24 ชั่วโมง
"ความหวาดกลัว" - Google News
https://ift.tt/2XpGqCo

No comments:

Post a Comment